หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ธรรมชาติศึกษาและประยุกต์วิทยาชั้น ๖

หน่วยวิชา  ธรรมชาติศึกษาและประยุกต์วิทยา            ภาค ฉันทะ                        ชั้น                 ปีการศึกษา ๒๕๕๕
มโนทัศน์ของภาค  ปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ครูผู้สอน ครูอัมภิณี  เลิศปีติวาณิชย์  และ ครูเกศ  ศรีวัฒนพล      

แก่นสาระการเรียนรู้ เจตคติและสมรรถนะที่คาดหวังในภาคเรียน
เรียนรู้ เข้าใจ  และอธิบายการเกิดดวงอาทิตย์    พลังงานที่ได้จากดวงอาทิตย์และอิทธิพลของพลังงานของดวงอาทิตย์ที่มีต่อ ระบบสุริยะและต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก เช่น การเกิดลมคลื่น กระแสน้ำและวัฏจักรของน้ำ รวมทั้งผลของพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่ทำให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่นับวันจะมีความถี่ ความรุนแรง และส่งผลกระทบต่อมนุษย์มากยิ่งขึ้น  ดังนั้นจึงควรศึกษาและตระหนักถึงความสำคัญของอานุภาพแห่งดวงอาทิตย์  ด้วยกระบวนการเรียนรู้จากการตั้งคำถาม  สังเกต  สืบค้น  การลงมือปฏิบัติ  สื่อประสบการณ์ที่ได้จากภาคสนาม วิเคราะห์ เชื่อมโยง   และสรุปเป็นองค์ความรู้สู่การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

(สรุป แก่นสาระการเรียนรู้ในประจำภาคเรียน และ สรุป เจตคติที่มีต่อวิชาและสมรถนะที่คาดหวังว่าจะให้เกิดขึ้นในนักเรียน)


สัปดาห์
แก่นสาระการเรียนรู้
เจตคติและสมรรถนะที่คาดหวัง
ชิ้นงานสำคัญ
ดวงอาทิตย์  แรงโน้มถ่วง แรงหนีศูนย์กลาง กับระบบสุริยะ
. นักเรียนบอกความหมายและระบุตัวแปรที่มีผลต่อแรงดึงดูดระหว่างมวลจากการทดลอง
. นักเรียนบอกความหมายของแรงหนีศูนย์กลางจากการทดลอง
. เชื่องโยงปรากฏการณ์การโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ ด้วยสมดุลของแรงดึงดูดระหว่างมวลและแรงหนีศูนย์กลางจากการดูวิดีทัศน์
. นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูล เลือกและนำเสนอข้อมูลผ่านการทำชิ้นงานแผนผังระบบสุริยะ
ทำแผนผังระบบสุริยะที่แสดง
- บริวารสำคัญ (ดาวเคราะห์ ไม่นับดวงจันทร์ของดาวเคราะห์ กลุ่มดาวเคราะห์น้อย) ชื่อและขนาด
- ระยะห่างโดยเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์
- ทิศทางของวงโคจรรอบดวงอาทิตย์
- ระยะเวลาการหมุนรอบดวงอาทิตย์
- ทิศทางของการหมุนรอบตัวเอง
- ระยะเวลาการหมุนรอบตัวเอง  (สัปดาห์ที่ ๑-๒)

ดวงอาทิตย์กับพลังงานนิวเคลียร์ และการแผ่รังสี
. นักเรียนบอกที่มาของพลังงานจากดวงอาทิตย์ผ่านการดูสื่อวิดีทัศน์
. นักเรียนเชื่อมโยงพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่มาถึงโลกด้วยการแผ่รังสีผ่านการดูสื่อวิดีทัศน์และภาพประกอบ
. นักเรียนยกตัวอย่างปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่แสดงถึงการแผ่รังสีจากการทดลองเปรียบเทียบและภาพประกอบ
การเปลี่ยนรูปพลังงานนิวเคลียร์ Ò รังสีÒ ความร้อน

. นักเรียนอธิบายหลักการเปลี่ยนรูปจากรังสีเป็นพลังงานความร้อนจากการสืบค้น
. นักเรียนยกตัวอย่างอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เปลี่ยนรูปจากรังสีเป็นพลังงานความร้อน เช่น เตาไมโครเวฟ
. นักเรียนอธิบายหลักการเปลี่ยนรูปพลังงานความร้อนเป็นพลังงานกลผ่านการดูสื่อวิดีทัศน์และการทดลองเปรียบเทียบ
. นักเรียนยกตัวอย่างการเปลี่ยนรูปพลังงานความร้อนเป็นพลังงานกล เช่น เครื่องจักรไอน้ำ จากสื่อวิดีทัศน์
. นักเรียนออกแบบและสร้างประดิษฐกรรมที่ใช้พลังงานจากแสงสว่างหรือความร้อนจากดวงอาทิตย์
ออกแบบและสร้างประดิษฐกรรมที่ใช้พลังงานจากแสงสว่างหรือความร้อนที่ได้จากดวงอาทิตย์ พร้อมเขียนคำอธิบายระบบการทำงานของประดิษฐกรรมชิ้นนั้น (โดยเป็นประดิษฐกรรมที่เพื่อนจะคาดไม่ถึงและต้องมีราคาไม่แพงหรือหาได้จากวัสดุภายในบ้าน หรือในโรงเก็บขยะของโรงเรียน     (สัปดาห์ที่ ๓-๔)

การเปลี่ยนรูปพลังงานความร้อน Ò พลังงานจลน์  (ลม , คลื่นและกระแสน้ำ)
. นักเรียนเข้าใจหลักการเกิดลมจากการทดลอง
. นักเรียนอธิบายลักษณะทิศทางการเคลื่อนที่ของลมและ
การถ่ายทอดพลังงานจากลมที่ทำให้เกิดคลื่นน้ำจากการทดลอง
. นักเรียนอธิบายสมบัติการสะท้อนของคลื่นในธรรมชาติได้จากการทดลองและสื่อวิดีทัศน์


พลังงานจากดวงอาทิตย์ที่ทำให้เกิดลม คลื่น กระแสน้ำและวัฏจักรของน้ำ

. นักเรียนทบทวนหลักการเกิดวัฏจักรน้ำและเชื่อมโยงสู่วัฏจักรน้ำในธรรมชาติ
. นักเรียนอธิบายทิศทางการเคลื่อนที่ของกระแสน้ำในธรรมชาติจากการทดลอง
. นักเรียนศึกษาแบบจำลองพลังงานจาก ลม คลื่นน้ำ กระแสน้ำ ที่มีผลต่อการกัดเซาะชายฝั่ง
. นักเรียนเห็นผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งในที่ต่างๆจากสื่อวิดีทัศน์และบทความต่าง ๆ
เขียนแผนผังแสดงเส้นทางพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่เดิน ทางมาสู่โลกและก่อให้เกิดสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำรง ชีวิตของมนุษย์ให้หลากหลายมากที่สุด เท่าที่จะทำได้         
(สัปดาห์ที่ ๕)


ภาคสนาม บ้านขุนสมุทรจีน (พลังงานจากดวงอาทิตย์ที่มีผลต่อการกัดเซาะชายฝั่ง/สมมติฐานลักษณะการกัดเซาะและขนาดความเสียหายที่บ้านขุนสมุทรจีน)
. นักเรียนสร้างสมมติฐานลักษณะการกัดเซาะและขนาดความเสียหายที่บ้านขุนสมุทรจีน
. นักเรียนได้ประสบการณ์เชิงประจักษ์รับรู้และตระหนักถึงพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่มีผลต่อการกัดเซาะชายฝั่ง
. นักเรียนฝึกและเลือกบันทึกความรู้จากการไปภาคสนาม
สมุดภาคสนาม
หลังภาคสนามประมวลการเรียนรู้ (ทดสอบย่อย)
. นักเรียนประมวลความรู้หลังภาคสนามจากการบันทึกลงในสมุดภาคสนามและการสืบค้น
. นักเรียนทบทวนและประมวลความรู้    
สร้างโครงงาน พลังงานจากดวงอาทิตย์ที่มีผลต่อการเกิดภัยพิบัติอื่น ๆ บนโลก (เน้นในมุมที่คิดไม่ถึง พร้อมตัวอย่างของจริง)
. นักเรียนสามารถออกแบบการทำงาน  การหาความรู้  เชื่อมโยงความรู้พลังงานจากดวงอาทิตย์ที่มีผลต่อการเกิดภัยพิบัติอื่น ๆ บนโลก

๑๐
ชื่นใจได้เรียนรู้(เผยตน)
. นักเรียนวิเคราะห์ เชื่อมโยง   สรุปเป็นองค์ความรู้และนำเสนอ



จำนวนคาบสอน  จำนวนคาบรวม ๓๖ คาบ  / จำนวน ๔ คาบ และ ๒ ครั้งต่อสัปดาห์
เอกสารประกอบการสอน  ชุดความรู้พลังงานดวงอาทิตย์  หนังสือ Harcourt  ป.๖  โลกและดาราศาสตร์ พจนานุกรมศัพท์ทางฟิสิกส์ และ      สารานุกรม
สื่อการเรียนรู้ อุปกรณ์การทดลอง  วีดิทัศน์  ภาพประกอบ และบทความ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น