หน่วยวิชา ภูมิปัญญาภาษาไทย ภาค ฉันทะ ชั้น ๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๕
มโนทัศน์ระดับชั้น เคารพความแตกต่าง ให้เกียรติและเห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์
ครูผู้สอน คุณครูสายรุ้ง ดวงมณี และ คุณครูนันทกานต์ อัศวตั้งตระกูลดี
แก่นสาระการเรียนรู้ เจตคติและสมรรถนะที่คาดหวังในภาคเรียน
เรียนรู้ เข้าใจลักษณะของคำ และความหมายของคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน ทบทวนหลักภาษาเรื่องการผันเสียงวรรณยุกต์
และการเขียนสะกดคำ มาตราตัวสะกด คำเป็นคำตายให้ถูกต้อง ผ่านการเรียนรู้วรรณคดีเรื่องราชาธิราช เกม เพลงและสื่อต่างๆ เรียนรู้วิธีการสืบค้นและบันทึกข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ พร้อมทั้งให้นักเรียนซึมซับความงามทางภาษาจากการเรียนรู้ช่อสี่คล้องจอง บทประพันธ์
กาพย์สุรางคนางค์๒๘ และการอ่านออกเสียงทำนองเสนาะอย่างไพเราะซึ่งเป็นภูมิปัญญาทางภาษาอย่างหนึ่ง รวมทั้งฝึกทักษะการอ่าน
คิด วิเคราะห์และถ่ายทอดด้วยภาษาที่สละสลวยงดงามทั้งการพูดและการเขียน ใช้ภาษาในการสื่อสารได้ตรงใจและถูกความหมาย
และการเขียนสะกดคำ มาตราตัวสะกด คำเป็นคำตายให้ถูกต้อง ผ่านการเรียนรู้วรรณคดีเรื่องราชาธิราช เกม เพลงและสื่อต่างๆ เรียนรู้วิธีการสืบค้นและบันทึกข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ พร้อมทั้งให้นักเรียนซึมซับความงามทางภาษาจากการเรียนรู้ช่อสี่คล้องจอง บทประพันธ์
กาพย์สุรางคนางค์๒๘ และการอ่านออกเสียงทำนองเสนาะอย่างไพเราะซึ่งเป็นภูมิปัญญาทางภาษาอย่างหนึ่ง รวมทั้งฝึกทักษะการอ่าน
คิด วิเคราะห์และถ่ายทอดด้วยภาษาที่สละสลวยงดงามทั้งการพูดและการเขียน ใช้ภาษาในการสื่อสารได้ตรงใจและถูกความหมาย
สัปดาห์
|
แก่นสาระการเรียนรู้
|
เจตคติและสมรรถนะที่คาดหวัง
|
ชิ้นงานสำคัญ
|
๑
|
- เข้าใจความหมายคำ “ชาติ ประเทศ รัฐ ”
- นำเสนอการสืบค้นข้อมูล หัวข้อ “บุคคลที่มีคุณูปการในการสร้างชาติบ้านเมืองไทย”
- ภูมิปัญญา : เรียนรู้ฉันทลักษณ์และฝึกอ่านบทประพันธ์ประเภทกาพย์ยานี ๑๑
|
๑.มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ตอบคำถาม โดยแสดงความเข้าใจคำและสามารถให้ความหมายคำศัพท์ได้อย่างลึกซึ้ง พร้อมทั้งยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้
๒.สามารถสืบค้นและคัดเลือกข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ รวมทั้งบันทึกความรู้ได้อย่างครบถ้วน
๓.สามารถสื่อสารผ่านการพูด การใช้ท่าทาง เพื่อให้ผู้อื่นรับรู้ได้ถึง
สิ่งที่ต้องการสื่อทั้งทางตรงและทางอ้อม พูดได้น่าสนใจและชัดเจน
๔.จดบันทึกความรู้ที่เป็นสาระสำคัญและนำไปใช้ประโยชน์ได้
๕.เข้าใจฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี ๑๑ และสามารถอ่านออกเสียงทำนองเสาะได้ไพเราะ ถูกจังหวะ
|
- สืบค้นข้อมูลหัวห้อ “บุคคลที่มีคุณูปการในการสร้างชาติบ้านเมืองไทย”
|
๒
|
- ทบทวนคำ และ อักษร ๓ หมู่
รูปและเสียงวรรณยุกต์
- ภูมิปัญญา : ฝึกอ่านบทอาขยาน “วิชาเหมือนสินค้า...”
|
๑.เข้าใจโครงสร้างส่วนประกอบของคำ พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ รวมทั้งอักษร ๓ หมู่ และนำมาใช้ในการสร้างคลังคำของตนเองได้
๒.สามารถนำเสนอความรู้ ความคิดเห็น ความเข้าใจของตนสู่ผู้อื่นไ
ด้อย่างชัดเจน
๓.สามารถอ่านออกเสียงทำนองเสนาะบทอาขยานซึ่งเป็นบทประพันธ์ประเภทกาพย์ยานี ๑๑ ได้ไพเราะ ถูกจังหวะ สื่ออารมณ์ความรู้สึกได้ดี
|
- บันทึกสะสมคลังคำ
|
๓
|
- เรียนรู้วรรณคดีเรื่องราชาธิราช
- อาขยานวิชาเหมือนสินค้า
- คำคล้องจอง คำคู่ ช่อสี่คล้องจอง
- ภูมิปัญญา : ท่องบทอาขยาน “วิชาเหมือนสินค้า...”
|
๑.อ่านเรื่องราวจากหนังสือและบทกวี คิดวิเคราะห์เปรียบเทียบ เชื่อมโยงบทเรียนกับประสบการณ์ได้ด้วยตนเอง จนเกิดเป็นความเข้าใจและสามารถเขียนอธิบายเปรียบเทียบได้อย่างชัดเจน
๒.มีความเข้าใจคุณธรรมจากวรรณคดีและนำคุณธรรมมาปรับใช้
ในการดำเนินชีวิต โดยยึดถือปฏิบัติอย่างถูกต้องได้
๓.ออกเสียงทำนองเสนาะและท่องจำบทอาขยานที่มีคุณค่าได้
๔.สามารถท่องทำนองเสนาะบทอาขยานซึ่งเป็นบทประพันธ์ประเภทกาพย์ยานี ๑๑ ได้ไพเราะ ถูกจังหวะ สื่ออารมณ์ความรู้สึกได้ดี
|
- บันทึกสะสมคลังคำ (คำคู่ คำซ้อน ช่อคำ)
- สอบท่องอาขยาน “วิชาเหมือนสินค้า”
|
๔
|
- เขียนตามคำบอก (สะกดคำได้ถูกต้อง)
- ทบทวนมาตราตัวสะกด (ไม่ตรงตามมาตรา) และคำเป็นคำตาย
- ภูมิปัญญา : เรียนรู้ฉันทลักษณ์และฝึกอ่านบทประพันธ์ประเภทกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
|
๑.สามารถเขียนสะกดคำได้ถูกต้อง
๒.สามารถนำเสนอความรู้ ความคิดเห็น ความเข้าใจของตนสู่ผู้อื่นได้อย่างชัดเจน
๓.เข้าใจฉันทลักษณ์ของกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘และสามารถอ่านออกเสียงทำนองเสนาะได้ไพเราะ ถูกจังหวะ
|
- บันทึกสะสมคลังคำ(ตัวสะกดไม่ตรงมาตราและคำเป็น
คำตาย)
|
๕
|
- เรียนรู้วรรณคดีเรื่องราชาธิราช(ต่อ)
- การคัดเลือกข้อมูล การเขียนบันทึกความรู้ และการอ้างอิงข้อมูล
- ภูมิปัญญา : ท่องบทอาขยาน “วันนั้นจันทร...”
|
๑.สามารถอ่านจับใจความ คิด วิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูลได้
๒. รู้จักวางแผนการทำงานได้อย่างเป็นลำดับ พร้อมทั้งสร้างชิ้นงานได้สวยงาม
๓.สามารถใช้ภาษาเขียนเพื่อสื่อสารได้อย่างชัดเจน ถูกต้องตามหลักการใช้ภาษา และเขียนอ้างอิงข้อมูลได้
๔.สามารถท่องทำนองเสนาะบทอาขยานซึ่งเป็นบทประพันธ์ประเภทกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ ได้ไพเราะ ถูกจังหวะ สื่ออารมณ์ความรู้สึกได้
|
- สืบค้น “วิถีชีวิต ความเชื่อ และวัฒนธรรม สะท้อนความเป็นไทย”
- ชิ้นงาน การเขียนบันทึกความรู้และสรุปความรู้
- ท่องอาขยาน
“วันนั้นจันทร ...”
|
๖
|
- เรียนรู้วรรณคดีเรื่องราชาธิราช(ต่อ)
- ภูมิปัญญา : ฝึกแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
|
๑.สามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ และเขียนบันทึกความรู้สรุปความรู้เป็นย่อหน้า เรียบเรียงข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ
และอ้างอิงข้อมูลได้ชัดเจน
๒. รู้จักวางแผนการทำงานร่วมกับเพื่อน จัดเตรียมทรัพยากร และจัดสรรเวลาในการทำงานได้ มีภาวะความเป็นผู้นำ ผู้ตามอย่างเหมาะสม
๓.สามารถบอกข้อดีและข้อจำกัดของตนเองได้
๔. มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ และแต่งได้ถูกต้องตรงฉันทลักษณ์
|
- บทประพันธ์ กาพย์จากหัวข้อ“วิถีชีวิต ความเชื่อ และวัฒนธรรม สะท้อนความเป็นไทย”
|
๗-๘
|
- เรียนรู้วรรณคดีเรื่องราชาธิราช(ต่อ)
- ภูมิปัญญา : อ่านบทประพันธ์ประเภทกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
ที่ตนเองแต่ง
|
๑.สามารถอ่านจับใจความ คิด วิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูลได้
๒.มีความภาคภูมิใจและเป็นส่วนหนึ่งในการธำรงความเป็นไทยได้
๓.คิดรูปแบบการนำเสนอได้อย่างสร้างสรรค์และสะท้อนตัวตนได้
๔.สามารถอ่านออกเสียงทำนองเสนาะในบทประพันธ์ประเภทกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ ที่ตนเองแต่งได้
|
ชิ้นงาน “รู้ตัวตน ... คงความเป็นไทย”
|
๙
|
สรุปการเรียนรู้ สะท้อนความรู้สึกและเจตคติ ผ่านการทำAAR
|
๑.สามารถสื่อสารผ่านการพูด การใช้ท่าทาง เพื่อให้ผู้อื่นรับรู้ได้ถึงสารที่ต้องการสื่อทั้งทางตรงและทางอ้อมได้
๒.สะท้อนความรู้สึก ทัศนคติต่อการเรียนรู้และการทำกิจกรรมได้อย่างสร้างสรรค์ ประเมินกระบวนการทำงานเพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาต่อไปได้
|
นำเสนอชิ้นงาน
และ AAR
|
จำนวนคาบสอน ภาษาไทย ๔ คาบ / สัปดาห์ และ ภูมิปัญญาไทย ๑ คาบ / สัปดาห์
เอกสารประกอบการสอน หนังสือราชาธิราช บทอาขยาน แบบฝึกหัดด้านหลักภาษา
สื่อการเรียนรู้ บทเพลง ประวัติบุคคล อุปกรณ์ประกอบเกม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น