หน่วยวิชา มานุษและสังคมศึกษา ภาค ฉันทะ ชั้น ๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๕
มโนทัศน์ระดับชั้น เคารพความแตกต่าง ให้เกียรติและเห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์
ครูผู้สอน คุณครูพิมพ์ลักษณ์ กาสา และ คุณครูนาถนัดดา ชื่นแสงเนตร์
แก่นสาระการเรียนรู้ เจตคติและสมรรถนะที่คาดหวังในภาคเรียน
ศึกษาเรียนรู้และทำความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ที่หลากหลายระหว่างวัฒนธรรมกับระบบนิเวศของวัฒนธรรมนั้นๆ ในเรื่อง ที่อยู่อาศัย , อาชีพ , อาหารประจำถิ่น พิธีกรรมการเกิด-ตาย , การแต่งกาย และ พาหนะที่ใช้ในการเดินทาง (กรณีศึกษา ชาวทิเบต และ เอสกิโม), ศึกษารูปแบบความสัมพันธ์ของมนุษย์กับมนุษย์ ๔ รูปแบบ (+ ,+ / +, - / - , - และ 0,0 ), ศึกษาถึงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมผ่านความสัมพันธ์ของมนุษย์กับมนุษย์ ๔ รูปแบบ (+,+) , (+,-) , (-,-) รวมถึงศึกษาถึงการผสมผสานทางวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ด้วยการกระตุ้นเรียนรู้ผ่าน Active Learning ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เรียนรู้ด้วยการฝึกตั้งประเด็นคำถาม การสืบค้นข้อมูล สรุป และ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบ รวมถึงเรียนรู้ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ เชื่อมโยง และการประยุกต์ความรู้เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน
สัปดาห์
|
แก่นสาระการเรียนรู้
|
เจตคติและสมรรถนะที่คาดหวัง
|
ชิ้นงานสำคัญ
|
๑
|
ความสัมพันธ์ที่หลากหลายระหว่างวัฒนธรรมกับระบบนิเวศของวัฒนธรรมนั้นๆ ในเรื่อง ที่อยู่อาศัย , อาชีพ , อาหารประจำถิ่น ของชาวทิเบต , เอสกิโม
|
๑.มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ตอบคำถาม
๒.สามารถสื่อสารผ่านการพูด การใช้ท่าทาง เพื่อให้ผู้อื่นรับรู้ได้ถึง
สิ่งที่ต้องการสื่อทั้งทางตรงและทางอ้อม พูดได้น่าสนใจและชัดเจน
๓. บันทึกความรู้ที่เป็นสาระสำคัญและนำไปใช้ประโยชน์ได้
๔.เข้าใจความสัมพันธ์ที่หลากหลายระหว่างวัฒนธรรมกับระบบนิเวศของวัฒนธรรมนั้นๆ ในเรื่อง ที่อยู่อาศัย , อาชีพ , อาหารประจำถิ่น ของชาวทิเบต , เอสกิโม
|
- เขียนนำเสนอข้อมูลของตนเองได้อย่างมีเหตุผลในรูปแบบต่างๆได้เช่น Mind Map, การเขียนบรรยาย หรือการวาดภาพประกอบคำบรรยาย
|
๒
|
ความสัมพันธ์ที่หลากหลายระหว่างวัฒนธรรมกับระบบนิเวศของวัฒนธรรมนั้นๆ ในเรื่อง พิธีกรรมการเกิด-ตาย , การแต่งกาย , พาหนะ ของชาวทิเบต , เอสกิโม
|
๑.เข้าใจความหลากหลายระหว่างวัฒนธรรมกับระบบนิเวศของวัฒนธรรมนั้นๆ ในเรื่อง พิธีกรรมการเกิด-ตาย , การแต่งกาย , พาหนะ ของชาวทิเบต , เอสกิโม
๒.สามารถนำเสนอความรู้ ความเข้าใจของตนโดยทำตารางเปรียบเทียบลักษณะต่างๆ ของชาวไทย เอสกิโม และทิเบต
|
- ตารางเปรียบเทียบความสัมพันธ์ที่หลากหลายระหว่างวัฒนธรรมกับระบบนิเวศของวัฒนธรรม
|
๓
|
รูปแบบความสัมพันธ์ของมนุษย์กับมนุษย์ ๔ รูปแบบ
(+ ,+ / +, - / - , - และ 0,0 )
|
๑.นักเรียนอธิบายรูปแบบความสัมพันธ์ของมนุษย์กับมนุษย์ ๔ รูปแบบ
๒. นักเรียนอ่านจับใจความ และคิด วิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูลได้
|
-ชิ้นงาน”Web ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับมนุษย์ ๔ รูปแบบ”
|
๔
|
การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม กับมนุษย์ ๔ รูปแบบ (+,+) , (+,-) , (-,-)
|
๑.สามารถอธิบายการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมของมนุษย์แต่ละพื้นที่ได้
๒. สร้างชิ้นงานสมุดนิทานที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมของมนุษย์
|
-สมุดนิทานที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมของมนุษย์
|
๕
|
การผสมผสานทางวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์สิ่งใหม่
|
๑.สามารถ จับใจความ คิด วิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูลได้
๒. รู้จักวางแผนการทำงานได้อย่างเป็นลำดับ พร้อมทั้งสร้างชิ้นงานได้สวยงาม
|
- ชิ้นงานสรุปความรู้การผสมผสานทางวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์สิ่งใหม่
|
๖
|
ภาคสนาม
ไร่ทักสม : เกษตรเชิงนิเวศ
|
๑. นำความหลากหลายจากธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับมนุษย์และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสมดุล
๒. สามารถวิเคราะห์จุดอ่อน + จุดแข็งและลองออกแบบ ดัดแปลงให้เกษตรเชิงนิเวศของไร่ทักสมมีความหลากหลายและมีความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตมากขึ้นกว่าเดิม
๓. นักเรียนร่วมคิด ร่วมทำ นำไปประยุกต์ใช้และเสริมทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม รวมทั้งตระหนักถึงคุณค่าในการดูแลชีวิตของตนเองและระบบนิเวศ ร่วมแบ่งปัน ถ่ายทอดสู่ผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์
|
สมุดภาคสนาม การเข้าร่วมกิจกรรม การตอบคำถาม
|
๗
|
หลังภาคสนาม
ประมวล สรุปและถอดความรู้จากภาคสนาม
|
๑. นักเรียนสามารถประมวล สรุปและถอดความรู้จากภาคสนาม
๒. นักเรียนสามารถประมวล สรุปความรู้จากสัปดาห์ที่ ๑ ถึง ๕
|
สมุดภาคสนาม การเข้าร่วมกิจกรรม การตอบคำถาม
|
๘
|
โครงงานสังเคราะห์ต่อยอด
“เลือกเกษตรเชิงนิเวศที่มีอยู่จริงมา ๑ ตัวอย่าง วิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็งและออกแบบ ดัดแปลงให้มีความหลากหลายและมีความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตมากขึ้นกว่าเดิม”
|
๑.สามารถวิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็งและออกแบบ ดัดแปลงให้มีความหลากหลายและมีความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตมากขึ้นกว่าเดิม
|
ออกแบบเกษตรเชิงนิเวศ
|
๙
|
สรุปการเรียนรู้ สะท้อนความรู้สึกและเจตคติ ผ่านการทำ
|
๑.สามารถสื่อสารผ่านการพูด การใช้ท่าทาง เพื่อให้ผู้อื่นรับรู้ได้ถึงสารที่ต้องการสื่อทั้งทางตรงและทางอ้อมได้
๒.สะท้อนความรู้สึก ทัศนคติต่อการเรียนรู้และการทำกิจกรรมได้อย่างสร้างสรรค์ ประเมินกระบวนการทำงานเพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาต่อไปได้
|
นำเสนอชิ้นงาน
และ
|
จำนวนคาบสอน ๓ คาบ / สัปดาห์
เอกสารประกอบการสอน ชุดความรู้ในแต่ละแก่นสาระการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้ วีดิทัศน์ ภาพประกอบ และบทความ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น