หน่วยวิชา ธรรมชาติศึกษาและประยุกต์วิทยา ภาค ฉันทะ ชั้น ๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๕
มโนทัศน์ระดับชั้น เคารพความแตกต่าง ให้เกียรติและเห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์
ครูผู้สอน คุณครู อรุโณทัย คอวนิช และ คุณครู สรนัย กนกกาญจนะ
แก่นสาระการเรียนรู้ เจตคติและสมรรถนะที่คาดหวังในภาคเรียน
ในภาคเรียนฉันทะ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เรียนรู้เรื่องนิเวศที่หลากหลายกับเกษตรกรรมเชิงนิเวศเชื่อมโยงระหว่างระบบจุลภาคที่อยู่ภายในร่างกายสิ่งมีชีวิต พืช สัตว์และคนกับมหภาคของระบบนิเวศ เน้นการนำความหลากหลายจากธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับมนุษย์และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสมดุล โดยการเรียนรู้ผ่านการทำโครงงานนิเวศที่หลากหลายกับเกษตรกรรมเชิงนิเวศ ซึ่งใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์เชิงประจักษ์ ให้เด็กได้ร่วมคิด ร่วมทำ นำไปประยุกต์ใช้และเสริมทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม รวมทั้งตระหนักถึงคุณค่าในการดูแลชีวิตของตนเองและระบบนิเวศ ร่วมแบ่งปัน ถ่ายทอดสู่ผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์
สัปดาห์
|
แก่นสาระการเรียนรู้
|
เจตคติและสมรรถนะที่คาดหวัง
|
ชิ้นงานสำคัญ
|
๑
|
ความหลากหลายของพืช (พืช ๗ ระดับ) ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย
|
๑. มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ตั้งคำถามที่เกิดจากความสงสัย มุ่งหาคำตอบด้วยตนเองผ่านการทดลองการสะสมอาหารของพืชในรูปแป้งหรือน้ำตาล
๒. สามารถสื่อสารผ่านการพูด การใช้ท่าทาง เพื่อให้ผู้อื่นรับรู้ได้ถึงสิ่งที่ต้องการสื่อทั้งทางตรงและทางอ้อม พูดได้น่าสนใจและชัดเจน
๓. เข้าใจตารางเปรียบเทียบความหลากหลายของพืช (พืช ๗ ระดับ) ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย
๔. บันทึกความรู้ที่เป็นสาระสำคัญตามลำดับขั้นตอนและนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน อธิบายจากความเข้าใจของตนเอง
|
- เขียนนำเสนอข้อมูลของตนเองได้อย่างมีเหตุผลในรูปแบบตารางเปรียบเทียบความหลากหลายของพืช ๗ ระดับ
- การบ้านเชิงโครงงานข้อที่ ๑ ให้นักเรียนเลือกสืบค้นข้อมูลของพืชหรือสัตว์ที่ตนเองสนใจหรือชื่นชอบ (ทั้งข้อมูลและภาพ) เพื่อนำมาจัดบอร์ดความรู้ในชั้นเรียน
ระบุเพิ่มเติม : สายพันธุ์ ความแตกต่างของสายพันธุ์ ในด้านรูปร่าง ลักษณะ อาหารที่กิน สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ถิ่นอาศัยและพฤติกรรม นำเสนอในรูปแบบตาราง
|
๒
|
ความหลากหลายของสัตว์ (สัตว์มีกระดูกสันหลังและ ไม่มีกระดูกสันหลัง) ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย
|
๑. มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ตั้งคำถามที่เกิดจากความสงสัย มุ่งหาคำตอบด้วยตนเองผ่านการทดลองการย่อยอาหารในคน
๒. เข้าใจตารางเปรียบเทียบความหลากหลายของสัตว์ (สัตว์มีกระดูกสันหลังและไม่มีกระดูกสันหลัง)
๓. สามารถยกตัวอย่างสัตว์ที่หลากหลายเพิ่มเติมจากตารางเปรียบเทียบสัตว์มีกระดูกสันหลังและไม่มีกระดูกสันหลัง อธิบายจากความเข้าใจของตนเอง
|
- ตารางเปรียบเทียบกลุ่มสัตว์มีกระดูก สันหลังและไม่มีกระดูกสันหลัง
|
๓
|
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต ๔ แบบ (+,+)/(+, -)/(- , - ) และ (0,0 )
|
๑. มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ตั้งคำถามที่เกิดจากความสงสัย มุ่งหาคำตอบด้วยตนเองผ่านกิจกรรมไหมพรมสร้างเพื่อน
๒. นักเรียนอธิบายรูปแบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต ๔ แบบ (+,+)/(+, -)/(- , - ) และ (0,0 ) จากความเข้าใจของตนเอง
|
- การบ้านเชิงโครงงานข้อที่ ๒ ให้นักเรียนเลือกสิ่งมีชีวิตจากที่เพื่อนสืบค้นมา ที่จะให้ประโยชน์ คุ้มค่ามากที่สุดกับสิ่งมีชีวิตที่ตนเองชื่นชอบ ให้นำเสนอในรูปแบบ Concept Map
|
๔
|
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในเกษตรเชิงเดี่ยวและปลายทางของเกษตรเชิงเดี่ยว
|
๑. สามารถอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในเกษตรเชิงเดี่ยวและปลายทางของเกษตรเชิงเดี่ยวได้
๒. สามารถเปรียบเทียบความแตกต่างของสารพิษรอบตัวที่ส่งผลต่อสุขภาพและส่งผลให้ผู้ก่อมลพิษต้องรับผิดชอบ ตามปริมาณและวิธีการบริโภคอย่างไร
|
- การบ้านเชิงโครงงานข้อที่ ๓ ให้นักเรียนนำชื่อของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่ทุกคนสืบค้นมาเขียนความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตในแบบ Web (+,+) และ (+, -)
|
๕
|
ความสัมพันธ์ของชีวิตที่หลากหลายในเกษตรเชิงนิเวศ
|
๑.สามารถอธิบายความสัมพันธ์ของชีวิตที่หลากหลายในเกษตรเชิงนิเวศ
๒. สามารถเปรียบเทียบความแตกต่างของความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในเกษตรเชิงเดี่ยวและเกษตรเชิงนิเวศ
| |
๖
|
ภาคสนาม
ไร่ทักสม : เกษตรเชิงนิเวศ
|
๑. นำความหลากหลายจากธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับมนุษย์และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสมดุล
๒. สามารถวิเคราะห์จุดอ่อน + จุดแข็งและลองออกแบบ ดัดแปลงให้เกษตรเชิงนิเวศของไร่ทักสมมีความหลากหลายและมีความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตมากขึ้นกว่าเดิม
๓. นักเรียนร่วมคิด ร่วมทำ นำไปประยุกต์ใช้และเสริมทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม รวมทั้งตระหนักถึงคุณค่าในการดูแลชีวิตของตนเองและระบบนิเวศ ร่วมแบ่งปัน ถ่ายทอดสู่ผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์
|
สมุดภาคสนาม การเข้าร่วมกิจกรรม การตอบคำถาม การทำงานกลุ่ม
|
๗
|
หลังภาคสนาม
ประมวล สรุปและถอดความรู้จากภาคสนาม
|
๑. นักเรียนสามารถประมวล สรุปและถอดความรู้จากภาคสนาม
๒. นักเรียนสามารถประมวล สรุปความรู้จากสัปดาห์ที่ ๑ ถึง ๕
|
สมุดภาคสนาม การเข้าร่วมกิจกรรม การตอบคำถาม การทำงานกลุ่ม
|
๘
|
โครงงานสังเคราะห์
ต่อยอด
“เลือกเกษตรเชิงนิเวศที่มีอยู่จริงมา ๑ ตัวอย่าง วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งและออกแบบ ดัดแปลงให้มีความหลากหลายและมีความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตมากขึ้นกว่าเดิม”
|
๑.สามารถวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งและออกแบบ ดัดแปลงให้มีความหลากหลายและมีความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตมากขึ้นกว่าเดิม
|
ออกแบบ ดัดแปลงเกษตรเชิงนิเวศที่มีอยู่จริงให้มีความหลากหลายและมีความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตมากขึ้นกว่าเดิม
|
๙
|
สรุปการเรียนรู้ สะท้อนความรู้สึกและเจตคติ ผ่านการทำ
|
๑. สามารถสื่อสารผ่านการพูด การใช้ท่าทาง เพื่อให้ผู้อื่นรับรู้ได้ถึงสารที่ต้องการสื่อทั้งทางตรงและทางอ้อมได้
๒. สะท้อนความรู้สึก ทัศนคติต่อการเรียนรู้และการทำกิจกรรมได้อย่างสร้างสรรค์ ประเมินกระบวนการทำงานเพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาต่อไปได้
|
นำเสนอชิ้นงาน
และ
|
จำนวนคาบสอน ๔ คาบ/สัปดาห์
เอกสารประกอบการสอน ชุดความรู้ในแต่ละแก่นสาระการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้ วีดิทัศน์ ภาพประกอบ บทความ นิทานและการทดลอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น