หน่วยวิชา ภูมิปัญญาภาษาไทย ภาค ฉันทะ ชั้น ๖ ปีการศึกษา ๒๕๕๕
มโนทัศน์ระดับชั้น ปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ครูผู้สอน คุณครูชนก สามิติและคุณครูจุธารัตน์ ยุกตะบุตร
แก่นสาระการเรียนรู้ เจตคติและสมรรถนะที่คาดหวังในภาคเรียน
เรียนรู้ เข้าใจลักษณะของคำ วลี ประโยค มองเห็นคุณค่าการใช้ชีวิตผ่านการบันทึกคลังภาษา* มีคุณสมบัติของความเป็นสุภาพบุรุษและสุภาพสตรีเพื่ออยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุขโดยถ่ายทอดผ่านงานประพันธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง เข้าใจคุณค่า ประเพณีตลอดจนวัฒนธรรมในสังคมไทยจากการศึกษาวรรณคดีและการรำละครซึ่งเป็นภูมิปัญญาไทย รวมทั้งอ่าน คิด วิเคราะห์และถ่ายทอดด้วยการเขียนบรรยายที่สละสลวย พูดนำเสนองานวิชาการอย่างมั่นใจและใช้ภาษาในการสื่อสารได้ตรงใจ ถูกวาระ ถูกความหมาย
สัปดาห์
|
แก่นสาระการเรียนรู้
|
เจตคติและสมรรถนะที่คาดหวัง
|
ชิ้นงานสำคัญ
|
๑
|
๑.๑- ฝึกคิดเชื่อมโยง
- การเขียนความเรียง
๑.๒ - เนื้อหา “คุณสมบัติผู้ดี”
- การอ่านจับประเด็น
- การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว
- คำเชื่อมบุพบท สันธาน
- การพูดนำเสนองาน
|
๑. มีความเข้าใจคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
๒. มีความสามารถในการคิดเชื่อมโยงและยกตัวอย่างเหตุการณ์ให้ตรงกับประเด็น
๓. สามารถเขียนความเรียงขนาดสั้นได้
๔. สามารถใช้คำเชื่อมประโยคได้ถูกต้อง
๕. มีความมั่นใจและเชื่อมั่นในความดีของตน มุ่งพัฒนาเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้
๖.มีสมาธิในการเรียน ตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นและสรุปความรู้จากสิ่งที่ได้เรียนได้ด้วยตนเอง สามารถนำความรู้ไปคิดวิเคราะห์ เปรียบเทียบ บูรณาการและประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในบทเรียนและชีวิตประจำวันได้
๑. มีความมั่นใจและกล้าในการพูดนำเสนองานเขียนด้วยท่าทีและบุคลิกภาพที่เหมาะสม
๒. สามารถอ่านออกเสียงเนื้อหา “คุณสมบัติผู้ดี”ได้ถูกต้องชัดเจนด้วยท่าทางที่เหมาะสม
๓. สามารถอ่านจับประเด็นเนื้อหา “คุณสมบัติผู้ดี” ได้
๔. สามารถคิดเชื่อมโยงประเด็นที่ได้กับคุณลักษณะของตนเอง
๕. เข้าใจการใช้คำเชื่อมบุพบท สันธาน ในการเขียนความเรียง
๖.มีความมั่นใจและเชื่อมั่นในความดีของตน มุ่งพัฒนาเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้มีความมั่นใจ
๗. นักเรียนมีสมาธิในการเรียน ตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นและสรุปความรู้จากสิ่งที่ได้เรียนได้ด้วยตนเอง สามารถนำความรู้ไปคิดวิเคราะห์ เปรียบเทียบ บูรณาการและประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในบทเรียนและชีวิตประจำวันได้
|
ความเรียงหัวข้อ “ความดีที่ฉันภูมิใจ”
ความเรียงหัวข้อ
“ความดีที่ฉันภูมิใจ”
(ต่อยอดงานเดิมในประเด็นที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันและเหมาะสมกับวัย)
|
๒
|
๒.๑ – เนื้อหา “คุณสมบัติผู้ดี”
- ชนิดของคำมูล ประสม ซ้ำ ซ้อนและวลี
- คำเชื่อมบุพบท สันธาน (ทบทวน)
|
๑. สามารถอ่านเพื่อค้นหาคำชนิดต่าง ๆ จากเนื้อหา “คุณสมบัติผู้ดี”ได้
๒. สามารถเขียนความเรียงได้สละสลวยโดยใช้คำเชื่อมที่หลากหลาย
๓. นักเรียนมีสมาธิในการเรียน ตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นและสรุปความรู้จากสิ่งที่ได้เรียนได้ด้วยตนเอง สามารถนำความรู้ไปคิดวิเคราะห์ เปรียบเทียบ บูรณาการและประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในบทเรียนและชีวิตประจำวันได้
|
กิจกรรม
”รวมคำ เชื่อมความ”
|
๒.๒. - ประโยคความรวม ความซ้อน
(ประโยคความเดียวเป็นโจทย์ยืนพื้น)
-ประเมินการอ่านออกเสียงร้อยแก้วจากเนื้อหา”คุณสมบัติผู้ดี”
|
๑. สามารถหาข้อแตกต่างของประโยคความรวมและความซ้อนได้
๒. เข้าใจและอธิบายลักษณะโครงสร้างของประโยคความรวมและความซ้อนได้
๓. สามารถปรับโครงสร้างประโยคทั้ง ๓ ชนิดได้ถูกต้อง
๔. สามารถอ่านออกเสียงร้อยแก้วได้ถูกต้องตามหลักการออกเสียงภาษาไทย
๕. สะท้อนความรู้สึก ทัศนคติต่อการเรียนรู้และการทำกิจกรรมในเชิงบวก ทบทวนบทเรียน สังเกตภาษาที่ปรากฏอยู่รอบตัวและศึกษาความรู้ที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงจากสิ่งที่เรียนเพิ่มเติมด้วยตนเอง
๖. นักเรียนมีสมาธิในการเรียน ตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นและสรุปความรู้จากสิ่งที่ได้เรียนได้ด้วยตนเอง สามารถนำความรู้ไปคิดวิเคราะห์ เปรียบเทียบ บูรณาการและประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในบทเรียนและชีวิตประจำวันได้
|
กิจกรรม
“ปรับรูป แปลงร่าง สร้างประโยค”
| |
๓
|
๓.๑ - เนื้อหา “สุภาษิตสอนหญิงและเพลงยาวถวายโอวาท”
- การอ่านจับประเด็น
- การถอดคำประพันธ์
- บทอาขยาน“สุภาษิตสอนหญิงและเพลงยาวถวายโอวาท”
|
๑. สามารถอ่านออกเสียงทำนองเสนาะ“สุภาษิตสอนหญิงและเพลงยาวถวายโอวาท”ได้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย
๒. สามารถถอดคำประพันธ์จากเนื้อหา “สุภาษิตสอนหญิงและเพลงยาวถวายโอวาท”ได้ครบถ้วน
๓. เขียนสรุปประเด็นที่ได้จากการอ่าน
๔. มีความรู้ ความเข้าใจและเชี่ยวชาญในเนื้อหาด้านหลักภาษา การใช้ภาษา วรรณคดี
|
งานเขียนถอดคำประพันธ์
|
๓.๒ – การเขียนการถอดคำประพันธ์เนื้อหาประเภทร้อยกรอง
- หลักการพูดนำเสนองานวิชาการ
- โครงการสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี ศรีเพลินพัฒนา
|
๑. สามารถเขียนถอดคำประพันธ์”สุภาษิตสอนหญิงและเพลงยาวถวายโอวาท”ได้กระชับครบถ้วนและสละสลวย
๒. เข้าใจและเห็นความสำคัญของการพูดนำเสนอวิชาการ
๓. สังเกตรูปแบบของการพูดนำเสนอเชิงวิชาการทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา
๔. สามารถจัดทำสื่อประกอบการนำเสนอได้
๕. สามารถเขียนหรือพูดสรุปใจความสำคัญและแสดงความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์
๖.มีความตื่นรู้ในการเรียนรู้และการทำงาน กล้าเรียนรู้สิ่งใหม่นำมาสร้างสรรค์ผลงานและนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้
|
งานเขียนถอดคำประพันธ์(ต่อยอดงานเดิมในประเด็นของการเขียนเรียบเรียงให้สละสลวย)
| |
๔
|
๔.๑ การพูดนำเสนองานวิชาการ
|
๑. สามารถพูดนำเสนองานวิชาการได้อย่างมั่นใจ
๒. ใช้ภาษาในการพูดได้ถูกต้องเหมาะสมตามหลักภาษาไทย
๓. ใช้อวัจภาษาได้ถูกต้องเหมาะสมกับเนื้อหาที่พูด
๔. จัดเตรียมและใช้สื่อประกอบการนำเสนอได้น่าสนใจ
๕. จัดเตรียมทรัพยากรมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพสร้างสรรค์ สามารถจัดสรรเวลา ควบคุมคุณภาพของงานและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ด้วยตนเอง
๖.สามารถประยุกต์ใช้วัจนภาษาและอวัจนภาษาถ่ายทอดจินตนาการและนำเสนอในรูปแบบแปลกใหม่อย่างสร้างสรรค์
|
พูดนำเสนองานวิชาการจากการถอดคำประพันธ์
|
๔.๒ – การเขียนความเรียง
- ประเมินการอ่านออกเสียงร้อยแก้วจากเนื้อหา”คุณสมบัติผู้ดี”
|
๑.เข้าใจและเห็นความสำคัญของการปฏิบัติตนให้เป็นสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี
๒. สามารถสังเกตผู้คนรอบข้างและคิดเชื่อมโยงกับเนื้อหาสุภาษิตสอนหญิงและเพลงยาวถวายโอวาทได้
๓ สามารถสังเกตและชื่นชมเพื่อนที่มีคุณสมบัติของสุภาพบุรุษและสุภาพสตรีได้โดยปราศจากอคติ
๔. ประเมินพัฒนาการคุณลักษณะความเป็นสุภาพบุรุษและสุภาพสตรีของตนได้โดยปราศจากอคติ
๕. มีความมั่นใจและเชื่อมั่นในความดีของตน มุ่งพัฒนาเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้
๖. สามารถเขียนหรือพูดสรุปใจความสำคัญและแสดงความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ เชื่อมโยง เปรียบเทียบ ยกตัวอย่างวิจารณ์อย่างมีเหตุผลปราศจากอคติด้วยภาษาที่ถูกต้องและสื่อความหมายได้ตรงใจ
|
- ความเรียงจากการสังเกตคนรอบข้าง เพื่อนและพัฒนาของตน
| |
๕
|
การพูดนำเสนอ
|
๑. สามารถพูดนำเสนอเนื้อหาความเรียงได้อย่างมั่นใจ
๒. พูดออกเสียงพยัญชนะ ตัวสะกด ได้ถูกต้องชัดเจน มีจังหวะการพูดและระดับเสียงที่เหมาะสม
๓. ใช้ท่าทางประกอบการพูดได้เหมาะสมกับเนื้อหา
๔. มีความมั่นใจและเชื่อมั่นในความดีของตน มุ่งพัฒนาเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้
|
การพูดนำเสนองานเขียนความเรียง
|
๖
|
การศึกษาภาคสนาม
| ||
๗
|
๗.๑ - การคิดวิเคราะห์
- การคิดเชื่อมโยง
- การเขียน
|
๑. สามารถถ่ายทอดมุมมองของตนเองที่มีต่อความเป็นสุภาพบุรุษ สุภาพสตรีในอุดมคติได้อย่างมีเหตุผล
๒. สามารถสามารถประเมินกระบวนการทำงานและผลลัพธ์ในการทำงานตามตัวบ่งชี้ที่กำหนดไว้ และสามารถพัฒนางานได้ด้วยตนเอง
|
เขียนแผนภูมิความคิดแสดงมุมมองต่อความเป็นสุภาพบุรุษและสุภาพสตรีในอุดมคติ
|
๗.๒ โคลงสี่สุภาพ
|
๑. เข้าใจและอธิบายฉันทลักษณ์โคลงสี่สุภาพได้
๒. แต่งโคลงสี่สุภาพได้สละสลวย และมีเรื่องรวมเป็นเอกภาพ กระชับสื่อความหมายได้ตรงตามที่วางแผนไว้
๓. อ่านออกเสียงทำนองเสนาะฉันทลักษณ์โคลงสี่สุภาพ
๔. สามารถสามารถประเมินกระบวนการทำงานและผลลัพธ์ในการทำงานตามตัวบ่งชี้ที่กำหนดไว้ และสามารถพัฒนางานได้ด้วยตนเอง
|
โคลงสี่สุภาพ
”สุภาพบรุษ สุภาพสตรีในอุดมคติ”
| |
๘
|
๘.๑ โคลงสี่สุภาพ
|
๑. แต่งโคลงสี่สุภาพได้สละสลวย และมีเรื่องรวมเป็นเอกภาพ กระชับสื่อความหมายได้ตรงตามที่วางแผนไว้
๒. สามารถสามารถประเมินกระบวนการทำงานและผลลัพธ์ในการทำงานตามตัวบ่งชี้ที่กำหนดไว้ และสามารถพัฒนางานได้ด้วยตนเอง
|
โคลงสี่สุภาพ
”สุภาพบรุษ สุภาพสตรีในอุดมคติ”
(ปรับแก้หรือทำงานต่อ)
|
๘.๒ – ๙.๑ โคลงสี่สุภาพ
|
๑. สามารถอ่านออกเสียงทำนองเสนาะได้ถูกต้องชัดเจน
๒. มีความมั่นใจและกล้าแสดงออก
๓. สามารถสามารถประเมินกระบวนการทำงานและผลลัพธ์ในการทำงานตามตัวบ่งชี้ที่กำหนดไว้ และสามารถพัฒนางานได้ด้วยตนเอง
|
นำเสนอโคลงสี่สุภาพ “สุภาพบุรุษ สุภาพสตรีในอุดมคติ”ด้วยการอ่านทำนองเสนาะ
| |
๙
|
๙.๒ ย้อนมองร่องรอยการเรียนรู้ (AAR)
|
๑. สามารถจัดลำดับความสำคัญและประเมินปัจจัยที่จะส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อการทำงานได้
๒. มีความตื่นรู้ในการเรียนรู้และการทำงาน กล้าเรียนรู้สิ่งใหม่นำมาสร้างสรรค์ผลงานและนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้
|
จำนวนคาบสอน จำนวนคาบรวม /จำวนคาบและครั้งต่อสัปดาห์
ภาษาไทย ๒ คาบ รวม ๔ ครั้ง/สัปดาห์
ภูมิปัญญาไทย ๑ คาบ รวม ๑ ครั้ง/สัปดาห์
เอกสารประกอบการสอน หนังสือคุณสมบัติผู้ดี สุภาษิตสอนหญิง เพลงยาวถวายโอวาท
สื่อการเรียนรู้ คลิปวิดีโอสัมภาษณ์คุณชลิดา เถาว์ชาลี
หมายเหตุ* การสะสมคลังภาษา คือนักเรียนอ่านหนังสือแล้วบันทึกวลี ประโยค ข้อความ หรือส่วนหนึ่งของเนื้อหาที่มีสารประโยชน์ในแต่ละสัปดาห์ เพื่อสะสมคลังคำยากหรือคำที่ไม่รู้จัก จากนั้นนักเรียนจะวิเคราะห์ ประเมินค่า และบอกว่าจะนำสารที่บันทึกไปใช้กับตนเองได้อย่างไร ทั้งนี้หนังสือที่อ่านควรเป็นหนังสือที่สร้างสรรค์ เช่น วรรณกรรมเยาวชน หนังสือนวนิยายที่ได้รับรางวัล สารานุกรม บทความจากนิตยสารที่น่าเชื่อถือ เป็นต้น และนักเรียนจะส่งการบันทึกคลังภาษาทุกเย็นวันศุกร์